การเก็บข้อมูลลูกค้าในอดีต
ก่อนหน้านี้ องค์กรต่างๆ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างง่าย เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการบันทึกวีดีโอ ซึ่งแม้ว่าวิธีเหล่านี้จะมีความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน แต่ก็ต้องแลกมาด้วยระยะเวลาในการตีความและจัดเก็บข้อมูลที่นานขึ้น ต่อมา ได้มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลผ่านซอฟแวร์ต่างๆ เช่น Excel, Google Sheets, Oracle, MySQL และ Microsoft Access ซึ่งซอฟแวร์เหล่านี้ได้รับความนิยมในหลายธุรกิจ เพราะช่วยให้การเก็บข้อมูลลูกค้าเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูล
นอกจากนี้ ปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับข้อมูลลูกค้าอย่างมาก ส่งผลให้ลูกค้ารู้สึกไม่ปลอดภัยต่อความเป็นส่วนตัวมากนัก จึงได้มีการประกาศกฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การประเมินคุณภาพข้อมูลที่รวบรวม
ในปัจจุบันมีข้อมูลมากมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องคุณภาพข้อมูลที่แย่ ข้อมูลที่ไร้คุณภาพจะส่งผลเสียต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจ และอาจทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง การประเมินคุณภาพข้อมูลมีทุกด้านดังนี้
1. ความถูกต้อง
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจะต้องได้รับการตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีความถูกต้องแม่นยำโดยสามารถประเมินได้จาก:
- รวบรวมมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
- มีการตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลในทุกด้าน
- เครื่องมือในการตรวจสอบมีความน่าเชื่อถือ
- วิธีการเก็บข้อมูลเป็นกลาง ไม่มีอคติ
2. ความสอดคล้อง
ในการเก็บข้อมูลจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันเพื่อความสะดวกในการตีความ และข้อมูลต้องมีความเชื่อมโยง ไม่ขัดแย้งกัน
3. ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้
ข้อมูลจะต้องตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ และมีรายละเอียดเพียงพอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ข้อมูลมีความทันสมัย
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมอาจจะเก่าหรือล้าหลัง ดังนั้นจึงต้องมีการอัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ และกำหนดระยะเวลาการใช้งานของข้อมูลเพื่อให้สดใหม่
5. ข้อมูลต้องพร้อมใช้งาน
ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ข้อมูลจะต้องถูกจัดเตรียมให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน และเผยแพร่ให้เหมาะสมกับสิทธิการเข้าถึง พร้อมทั้งมีคำอธิบายที่ชัดเจน